วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1

วิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 1

วิชาระบบฐานข้อมูล


แบบฝึกหัดบทที่ 1
     ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน
   ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน รูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน
     ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS)  Database Management System หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล   เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล

1.สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1
     ฐานข้อมูล (Database)
          ฐานข้อมูล  คือข้อมูลจำนวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน
     ระบบฐานข้อมูล (Database System)
          ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน  และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าคงคลัง และข้อมูลพนักงานขาย เป็นต้น
     ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
          ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือให้แก้ไขข้อมูล ได้ด้วย
    ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
          เมื่อมีการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทไให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมาย ได้แก่
          1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อน าคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้ าซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
          2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล  ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
          3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล  ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
          4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
          5. มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
          6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
          7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
           แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ฐานข้อมูลนั้น ถึงแม้ว่าการประมวลผลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
          1. เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง   รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดท าระบบจัดการฐานข้อมูล
          2. เกิดความสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียว กัน ดังนั้นถ้ามีการจัดเก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ

2. ทำการวัดและประเมินผลผลการผ่านจุดประสงค์
ตอนที่ 1 แบบปรนัย

     1. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร
          ตอบ      ข.  ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
     2.  หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลแล้ว จะต้องสร้างออบเจ็กต์ใดเป็นอันดับแรก
          ตอบ      ก.  Table
     3.  ออบเจ็กต์ใดที่ทำหน้าที่การเก็บข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูล
          ตอบ      ข.  Query
     4.  ออบเจ็กต์ Query มีหน้าที่ทำอะไร
          ตอบ      ค.  สร้างแบบสอบถามข้อมูล
     5.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของออบเจ็กต์ Form
          ตอบ      ข.  เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล
     6.  ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช กฎของการ Normalization
          ตอบ      ข.  จะต้องมีความสัมพันธ์แบบเชิงกลุ่ม (Many-to-Many)
     7.  ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับของระบบฐานข้อมูล
         ตอบ      ค.  ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
     8.  ขั้นตอนใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนอรกในการออกแบบฐานข้อมูล
          ตอบ      ก.  กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
     9.  ส่วนประกอบต่อไปนี้เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 ยกเว้น ข้อใด
          ตอบ       ง.  Ribbon
     10. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
          ตอบ       ก.  เมื่อบันทึกฐานข้อมูลใน Access 2007 จะมีนามสกุล .accdb
ตอนที่ 2   แบบจับคู่ คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่คำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.  ช.  DBMS                             ก. แถบในการแสดงออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น 
2.  จ.  Normalization                   ข. แบบสอบถามข้อมูล    
3.  ซ.  Office Button                    ค. ส่วนของพื้นที่การทำงานของออบเจ็กต่าง ๆ
4.  ญ. Quick Access Toolbar       ง.  ชุดคำสั่งกระทำการต่าง ๆ ที่นำมารวมกัน   
5.  ฌ. Ribbon                              จ.  กฎที่ใช้ในการออบแบบตาราง
6.  ก.  Navigation Pane                ฉ. โปรแกรมย่อยที่เขียนขึ้นภาษา VBA
7.  ค.  Document Window           ช.  ระบบจัดการฐานข้อมูล
8.  ข.  Query                ซ.  ปุ่มที่รวบรวมชุดคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล
9.  ง.  Macro                ฌ.  ส่วนการทำงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่แถบเมนูและ
                                           แถบเครื่องมือ
10. ฉ. Module              ญ.  แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ๆ
                                          เอาไว้
ตอนที่ 3   แบบอัตนัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
      
     1.  จงอธิบายถึงความหมายของฐานข้อมูล
           ฐานข้อมูล  (Database)  คือข้อมูลจำวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในการสร้างตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่ต้องทำป็นอันดับแรก หรือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องนำปใช้งานต่อไป
      2.  ระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร           
            1.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำห้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
            2.  ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
            3.  ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการน าเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
            4.  สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป
แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
            5.  มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถก าหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะท าการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
            6.  ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง
รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ท าให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
            7.  ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
      3.  ใน Microsoft Access 2007 ประกอบไปด้วยออบเจ็กต์อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร 
            1.Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
            2.Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
            3.Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง
            4.Report ใช้ในการสร้างรายงาน
            5.Macros ชุดคำสั่งที่นำมาร่วมกันตามขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้การทำงานเป็นอัตโนมัติ
            6.Modules ช่วยให้ทำงานกับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
      4.  จงอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลมาพอใจ
            ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล
    
      5.  จงยกตัวอย่างระบบงานที่ควรนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล  
           งานทะเบียน เพราะว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับประวัติของพนักงานหรือนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลต่างๆหลายอย่างมาเก็บข้อมูลไว้ได้ง่าย

วิชาการโปรแกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1
ตอนที่ 1
          1  . อินเตอร์เน็ตเรียกกันสั้นๆว่า เน็ต คือระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด
          2.  ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะ ไคลเอนท์-เวิร์ฟเวอร์(Client-Server)
          3. ไคลเอนท์-เวิร์ฟเวอร์(Client-Server) คือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ  เครื่องแม่ข่าย หรือ  ผุ้ให้บริการกับเครื่องที่เป็น ไคลเอนท์ คือ เครื่องลูกข่าย หรือผู้ขอใช้บริการมีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา
          4.ชื่อที่อยุ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ต  จะเรียกกันว่า ไอพีแอดเดรส เป็นตัวเลขล้วนๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255  คั่นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9
          5.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  ได้แก่  1. ค้นหาข้อมูลข่าวสารที่เราสนใจ 2.แชร์เรื่องราวต่างๆกับบุคคลอื่น
              3. สามารถสร้างรายได้เสริม เช่นทำเว็บขายของได้ 4. ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นในกรณีต่างๆหรืออยู่ไกลกัน
             5. สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทางเน็ตได้
  6.ภัยจากอินเตอร์เน็ตได้แก่ 1. สื่อลามกอนาจาร  ส่งภาพหรือไฟล์ลามกผ่านทางอินเตอร์เน็ต
            2. การติดเกมส์ออนไลน์       3.  การแชท  สนทนาผ่านทางอินเตอร์เน็ต
    7.       เวิลด์ไวด์เว็บหมายถึง แหล่งข้อมูลขนาดยักษ์  สามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งรูปแบบข้อความ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  รวมทั้งวิดีโอ
   8.  รูปแบบของFTP แบ่งได้เป็น 2แบบ  ได้แก่  1.Download คือการคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หรือจากคอมพิวเตอร์อื่นมายังเครื่องคอมพวเตอร์ของผู้ใช้ 2. Upload คือการคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์อื่น
  9.    เว็บบราว์เซอร์  หมายถึง  โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ  หรือเรียกสั้นๆว่า บราว์เซอร์  มีหน้าที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม
10.  URL คือการเข้าถึงข้อมูลใดๆในอินเตอร์เน็ต  ตัวอย่างได้แก่ 
 1. http://www.google.com/shop/index.html  
 2. http://www.yahoo.com/nanmee/index.html 
 3. http://www.postjung.com/katai.index.html

ตอนที่ 2
1.”ไอพี่แอดเดรส”ในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนข้อใด
 -----ค.เลขที่บ้าน
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ตรงกับข้อใด
 -----ข.เครื่องแม่ข่าย
3.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
 -----ข.ส่งพัสดุภัณฑ์
4.เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์จะพบข้อมูลประเภทใดบ้าง
 -----ง.ถูกหมดทุกข้อ
5.ชื่อที่อยู่ของ E-mail เรียกว่าอะไร
 -----ค.E-mail Address
6.FTP ย่อมาจากอะไร
-----ง.File TransferProtocol
7.ข้อใดคือความหมายของ FTP
 -----ค.การโอนย้ายข้อมูล
8.การคัดลองข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องผู้ใช้หมายถึงข้อใด
 -----ข.Download
9.การคัดลอกข้อมูลในเครื่องผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หมายถึงข้อใด
 -----ก.Upload
10.ข้อใดหมายถึงการให้บริการแบบทางไกล
 -----ข.Remote
11.เว็บเพจหมายถึงข้อใด
 -----ข.ไฟล์1ไฟล์คือเว็บเพจ1หน้า
12.เว็บไซต์หมายถึงข้อใด
-----ก.กลุ่มของเว็บเพจหลายหน้า
13.โฮมเพจ หมายถึงข้อใด
  -----ค.เว็บเพจหน้าแรก
14.เว็บเซิร์ฟเวอร์ คือข้อใด
 -----ง.ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์
15.ข้อใดคือหน้าที่หลักของดปรแกรมเว็บบราวเซอร์
 -----ง.ถูกทุกข้อ

วิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ

แบบฝึกหัดบทที่ 1 โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์(computer system)แบ่งออกเป็น 3 สวนหลักๆที่สำคัญ คือ
1.hardware(ตัวเครื่อง) ได้แก่
-จอภาพ
-คีย์บอร์ด
-cpu
-เมาส์
-สแกนเนอร์
-แทรกบอลล์
-จอยสติ๊ก
-ตัวขับจานแม่เหล็ก
-ตัวขับ ซีดี-รอม
-ไมโครโฟน
-กล้องวิดีโอ
-เครื่องอ่านรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด
2.Software(โปรแกรม) แบ่งเป็น2 อย่างได้แก่
2.1 system software ได้แก่
-OS
-Utility
-Translation
-Diganostic
2.2 Application Software ประกอบด้วย 2 อย่าง ได้แก่
2.2.1 User programs (ผู้ใช้เขียนเอง) เช่น
-ภาษาC
-Visual Basic
- Pascal
-C++
- html
- Flash
2.2.2 package programs
-เกมส์
-windows
-MS-office
-photoshop
-photoscape
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
3. People ware ได้แก่
- Programmer
- System Analysis
-เจ้าหน้าที่กราฟิกดีไซน์
- เจ้าหน้าที่สารสนเทส (IT support)
- Application Support
- เจ้าหน้าที่ Admin และ Project co.

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1.จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

2.จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย เทคโนโลยีที่สำคัญ 2 สาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีทั้งสองสาขามีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกการจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ กระบวนการจัดทำสารสนเทศประกอบด้วยกรรมวิธี 3 ประการคือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลกรรมวิธีทั้ง 3 ประการนี้ต้องอาศัย เทคโนโลยีด้านซอรฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์การรับข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล
2.เทคโนโลยีโทรคมนาคม ช่วยให้การสื่อสารหรือการเผยแพร่สารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์ และสื่อได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล(DATA) ที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ภาพ และเสียง โดยใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับการสื่อสารหรือการเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ โทรเลข วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย


3.คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง
                1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย 

               2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย

               3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ
              4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

              5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

4.จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างน้อย5ข้อ
              1. ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากสิ่งอำนวยควม
                สะดวกต่าง ๆ
           2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และเกิดการกระจายโอกาส เช่นการใช้ระบบ
                การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กที่อยู่ในชนบทหรือเด็กที่อยู่ใน
                ถิ่นถุรกันดารมีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง
           3. ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้นเช่นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
                สอน
           4. ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่นการรวบรวมข้อมูลเรื่อง 
                คุณภาพในแม่น้ำลำคลองต่างๆเพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะ แล้วดำเนินการแก้ไข 
                ปัญหา
           5. ทำให้เกิดระบบป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
               มาควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆหรือระบบป้องกันภัยต่าง ๆ เป็นต้น
5. จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศความความเข้าใจ
ตอบ        อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
                การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
                การลิดรอนระบบ
สารสนเทศ
                การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
                การล้วงข้อมูลมาใช้งาน
ซึ่งอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้าน
เทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

6. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ตอบ        จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
                1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
                2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
                3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
                สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี

                นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
                1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ  วิภาวรรณ
นามสกุล  ฉายชูวงษ์
เกิดวันที่ 26 พฤษภาคม 2534
ที่อยู่ปัจจุบันที่ติดต่อได้  185/9  ซ.จรัลสนิทวงศ์7/1  แขวงท่าพระ  เขตบางกอกใหญ่  กทม.
เบอร์โทรศัพท์นักศึกษา  0877003961
สุขภาพ  ดีมาก
โรคประจำตัว  อยากเป็นแต่ไม่เป็น
แพ้ยา  ไม่แพ้
คติประจำวัน  วันนี้จะต้องดีแน่นอน